Header

ยิ้มได้ไม่ต้องกลัวเข็ม: เรื่องเล่าจากวิสัญญีแพทย์

11 ธันวาคม 2567

ยิ้มได้ไม่ต้องกลัวเข็ม: เรื่องเล่าจากวิสัญญีแพทย์

วิสัญญีแพทย์และบทบาทสำคัญ

สวัสดีค่ะ หมอวิสัญญีนะคะ หรือที่บางคนเรียกกันว่า "หมอดมยา" ซึ่งปกติแล้ววิสัญญีแพทย์จะมีบทบาทสำคัญเมื่อมีการรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะเมื่อมีการผ่าตัด จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดอวัยวะส่วนใดก็ตาม

ทีมวิสัญญีประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล โดยทำงานร่วมกับทีมแพทย์ผู้ผ่าตัดและพยาบาลช่วยผ่าตัด ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด ไปจนถึงหลังการผ่าตัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและปราศจากภาวะแทรกซ้อน

วิธีการให้ยาระงับความรู้สึก

แบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่:

  1. การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว

    • ผู้ป่วยจะหลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่มีความเจ็บปวด และจำเหตุการณ์ไม่ได้ระหว่างการผ่าตัด
    • ยาจะถูกให้ทางสายน้ำเกลือ หรือผ่านทางหน้ากาก/ท่อช่วยหายใจ โดยทีมวิสัญญีดูแลตลอดกระบวนการ
  2. การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน

    • ฉีดยาชาเฉพาะส่วนที่จะทำการผ่าตัด เช่น ฉีดเข้าช่องน้ำไขสันหลัง หรือบริเวณนอกช่องไขสันหลัง
    • ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดในส่วนที่ผ่าตัด แม้ยังรู้สึกตัวระหว่างผ่าตัด หากผู้ป่วยกังวล ทีมวิสัญญีสามารถให้ยาคลายความกังวลได้

การเตรียมตัวก่อนรับบริการวิสัญญี

เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้:

  • งดน้ำ งดอาหาร งดนม และเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการอาเจียนและการสำลักอาหาร
  • แจ้งข้อมูลสุขภาพที่สำคัญให้แพทย์ทราบ เช่น:
    • โรคประจำตัว
    • ประวัติการผ่าตัด
    • การแพ้ยา อาหาร หรือสารต่าง ๆ
    • ฟันโยก ฟันปลอม หรือปัญหาทางทันตกรรมอื่น ๆ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
  • หยุดดื่มสุราอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  • ล้างเล็บและตัดเล็บมือให้สั้น เพื่อวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วระหว่างการผ่าตัดได้ง่าย
  • นำยาประจำตัวและยาสมุนไพรต่าง ๆ มาที่โรงพยาบาล เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ถอดฟันปลอมที่ถอดได้ ถอดคอนแทคเลนส์ และเครื่องประดับทุกชนิด ฝากไว้กับญาติก่อนเข้าห้องผ่าตัด

ข้อควรระวังเพิ่มเติม

  • หากตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งทีมวิสัญญีทันที เนื่องจากต้องหลีกเลี่ยงยาบางชนิด
  • หากมีอาการเจ็บป่วยทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หรือน้ำมูก ต้องแจ้งให้ทีมวิสัญญีทราบ โดยควรรอให้หายจากอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
  • กรณีการผ่าตัดที่ไม่ต้องนอนค้างคืน ควรมีญาติมาด้วยเพื่อช่วยเหลือในเรื่องเอกสารและการดูแลหลังการผ่าตัด

แพทย์หญิงขวัญพจน์ สดใส
วิสัญญีแพทย์โรงพยาบาลพริ้นซ์ มุกดาหาร



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์